สปาย คิดส์ (Spy Kids) เป็นภาพยนตร์ชุดที่ฉายครั้งแรกในปี 2001 จนกลายเป็นภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานกี่ปี ก็ยังเป็นภาพยนตร์คลาสสิกที่ครองใจแฟนๆ ตลอดกาล
10 ความจริงที่น่าสนใจ เบื้องหลังการถ่ายทำ สปาย คิดส์ (Spy Kids) ภาพยนตร์แฟรนไชส์คอมเมดี้แนวแอคชันผจญภัย เรื่องราวการผจญภัยของคาร์เมนและจูนี คอร์เตซ เด็กสองคนที่พัวพันกับองค์กรจารกรรมของพ่อแม่
ผู้กำกับโรเบิร์ต รอดริเกซ (Robert Rodriguez) ทำการตัดต่อภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยตนเองในโรงจอดรถที่บ้าน เพราะเขาไม่อยากให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เหมือนภาพยนตร์ที่มีอยู่ดาษดื่น จึงลงมือตัดต่อด้วยวิธีการของเขาเอง
เขาไม่เพียงแค่เขียนบท ตัดต่อ และกำกับด้วยตนเองเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้ออกแบบตัวละครในเรื่อง ยกตัวอย่างเช่น Thumb-Thumbs หุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่เป็นบอดี้การ์ด ก็เป็นตัวละครที่เขาเคยวาดไว้ตั้งแต่อายุ 13 ปี
ฉากที่น่าจดจำอย่างตอนที่ Alexander Minion เผยตัวว่าเป็นตัวร้าย และมีใบหน้ากับมืออีกหลายมือโผล่ออกมาจากตัวของเขา ไม่ได้เกิดจากการตัดต่อภาพ แต่นักแสดงต้องสวมใบหน้าและมือปลอมในระหว่างการถ่ายทำจริง
Spy Kids 2: The Island of Lost Dreams โดยเฉพาะในฉากที่ Carmen และ Juni Cortez เจอกับ Romero ได้แรงบันดาลใจมาจากภาพยนตร์ที่โรเบิร์ต รอดริเกซ ชื่นชมอย่าง Jason and the Argonauts
โรเบิร์ต รอดริเกซ อยากให้ Ricardo Montalbán มารับบทเป็น Valentin Avellan หลังจากได้ชม Star Trek II: The Wrath of Khan ในเทศกาลภาพยนตร์ที่จัดขึ้นโดย Quentin Tarantino ในรัฐเท็กซัส
เมื่อได้ชมภาพยนตร์ Star Wars: Episode II — Attack of the Clones ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ทำการบันทึกภาพและเสียงจากกล้องดิจิตอล เขาก็เปลี่ยนเทคนิคการถ่ายทำ Spy Kids จากกล้องฟิล์มมาเป็นดิจิตอลบ้าง
Sylvester Stallone ซึ่งรับบทเป็นตัวร้ายใน Spy Kids 3-D: Game Over ได้ช่วยเสนอไอเดียของเขาในการสร้างคาแรกเตอร์ของตัวละคร ในฉากที่ตัวละครของเขาพูดคุยกับ 3 คาแรกเตอร์ที่แตกต่างกันของตนเอง
George Clooney ได้เลียนเสียงของ Sylvester Stallone ในการถ่ายทำ และเขาก็ทำได้เหมือนมากจนแม้แต่ Sylvester Stallone ก็ยังแยกเสียงของเขาเองกับเสียงของ Clooney ไม่ออก
Spy Kids 3-D: Game Over ถ่ายทำโดยใช้ฉากเขียวเป็นพื้นหลังทั้งหมด มีเพียงเหล่านักแสดงเท่านั้นที่มีตัวตนอยู่จริง ส่วนอื่นนั้นเกิดจากการใช้เทคโนโลยีในการตัดต่อภาพ
โรเบิร์ต รอดริเกซ ได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่อง Polyester ของ John Waters ในการใช้ Aroma-scope ที่ทำให้ผู้ชมสามารถรับกลิ่นในระหว่างการชมภาพยนตร์ Spy Kids: All the Time in the World ได้
ที่มา: cinemablend