เผยเทคนิคในตำนาน จากเบื้องหลังการถ่ายทำภาพยนตร์ดังในอดีต

0
3489

ภาพยนตร์หลายเรื่องเป็นภาพยนตร์ที่คลาสสิกและเป็นอมตะ ที่ไม่ว่าเราจะนำกลับมาชมอีกกี่ครั้งก็ยังตื่นตาตื่นใจเสมอ ถึงแม้ว่าภาพยนตร์เหล่านั้นจะถ่ายทำในช่วงเวลาที่เทคโนโลยีการตัดต่อภาพจะยังไม่ก้าวหน้าเหมือนปัจจุบันก็ตาม

วิธีการถ่ายทำภาพยนตร์สุดคลาสสิก ที่ไม่ว่าจะนำกลับมาชมอีกกี่ครั้งก็ยังรู้สึกสนุกอยู่เสมอ เพราะถึงแม้ว่าเทคโนโลยี CGI จะยังไม่พัฒนาเท่าในปัจจุบัน แต่พวกเขาก็มีวิธีการและเคล็ดลับในแบบเฉพาะของตนเอง

เทคนิคการถ่ายทำภาพยนตร์ Back To The Future Part II ออกฉายในปี 1989 เป็นภาคต่อของภาพยนตร์เรื่อง เจาะเวลาหาอดีตที่ออกฉายในปี 1985 ที่ต้องใช้ทีมงานหลายชีิวิตกับเสื้อแจ็คเก็ตตัวเดียว

ความลับจากภาพยนตร์เรื่อง Star Wars: The Phantom Menace สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น ที่ออกฉายในปี 1999 กับฝูงชนจำนวนมหาศาลที่จริงๆ แล้วเป็นแค่คอตตอนบัดย้อมสี

ภาพยนตร์เรื่อง Elf ปาฏิหาริย์เทวดาตัวบิ๊ก ที่ฉายในปี 2003 ที่เทคนิคพิเศษที่ทำให้เทวดาดูตัวใหญ่ขึ้นเกิดจากการใช้มุมกล้องเท่านั้น ไม่ได้มีเคล็ดลับหรือวิธีการอะไรที่แปลกประหลาดพิสดารเลย

เทคนิคการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง Ghostbusters บริษัทกำจัดผี ภาพยนตร์แนวแฟนตาซีที่ออกฉายในปี 1984 โดยหุ่น Stay Puft Marshmallow ตัวยักษ์นั้นยืนอยู่ท่ามกลางฉากจำลองขนาดเล็กจิ๋ว

ฉากที่ใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง 2001: A Space Odyssey ที่ฉายในปี 1968 มีการใช้ฉากที่สามารถหมุนได้เพื่อให้ดูเหมือนตัวละครกำลังเดินอยู่ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง

บางฉากบางตอนของภาพยนตร์เรื่อง The Terminator ฅนเหล็ก 2029 ที่ฉายในปี 1984 ตัว Terminator หรือคนเหล็กนั้นถูกแบกขึ้นหลังทีมงานเหมือนกับเป็นกระเป๋าใบหนึ่งเลย

เบื้องหลังการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง Modern Times ที่เขียนบทและกำกับโดยนักแสดงชื่อดังอย่าง Charlie Chaplin กับฉากโรลเลอร์สเก็ตที่ใช้ภาพถ่ายแทนตัวชาร์ลีเอง

ภาพถ่ายเบื้องหลังการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง The Empire Strikes Back หรือ สตาร์ วอร์ส 2 ที่ไม่ได้ใช้เทคนิคพิเศษอะไรซับซ้อน เพราะใช้หุ่นเชิดในการถ่ายทำ

เทคนิคพิเศษที่ใช้ในภาพยนตร์เรื่อง Superman ปี 1978 นั้นไม่ได้ใช้ลวดสลิงเหมือนที่หลายคนเข้าใจ แต่ใช้เครื่องมือพิเศษที่รองรับตัวนักแสดงเอาไว้แบบนี้

เทคนิคพิเศษที่ใช้ในภาพยนตร์เรื่อง Return of the Jedi ก็ไม่ได้แตกต่างจาก The Empire Strikes Back มากนัก เพราะตัวละครที่ดูสมจริงในภาพยนตร์ก็เป็นแค่หุ่นตัวหนึ่งเหมือนกัน

เบื้องหลังการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง Mary Poppins แมรี่ ป๊อปปินส์ ภาพยนตร์แฟนตาซีดนตรีอเมริกันปี 1964 ที่ใช้อุปกรณ์ที่ทำให้นักแสดงอยู่สูงขึ้นมา จากนั้นก็ตัดต่อภาพใส่ลงไปในฉากหลัง

เบื้องหลังการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ Jurassic Park (1993) ที่มีการสร้างหุ่นรูปไดโนเสาร์ขนาดเท่าตัวจริงขึ้นมาเลยทีเดียว

เคล็ดลับที่ทำให้ฮูเวอร์บอร์ดของ Michael J. Fox ในภาพยนตร์เรื่อง Back To The Future Part II เจาะเวลาหาอดีต 2 ปี 1989 ติดอยู่กับเท้าของเขาตลอดเวลาก็คือการใช้กาวธรรมดาติดเอาไว้

ฉากกองทัพสุดอลังการในภาพยนตร์เรื่อง Star Wars ตั้งแต่ภาคหนึ่งจนถึงภาคสาม เป็นภาพวาดที่ถูกวาดขึ้นมาทั้งหมด ไม่ได้มีการใช้หุ่นหรือนักแสดงจริงๆ ในฉากที่มีตัวละครจำนวนมากเลย

ที่มา: brightside