เคล็ดลับการพูดโน้มน้าวจิตใจผู้อื่น ที่จะทำให้อีกฝ่ายยอมทำในสิ่งที่เราต้องการ

0
1483

การพูดโน้มน้าวใจผู้อื่นนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เรามีความตื่นเต้น กังวล หรือในสถานการณ์ที่เราทำผิดพลาดหรืออาจจะทำผิดพลาดได้ทุกเมื่อ ดังนั้นเราจึงควรเรียนรู้เคล็ดลับและเทคนิคในการพูดเอาไว้

เคล็ดลับในการพูดเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจสิ่งที่เราต้องการจะสื่อสารออกไปมากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งตามมา ด้วยวิธีการเสนอแนะความคิดเห็นที่ทำให้ผู้อื่นเข้าอกเข้าใจเราได้อย่างชัดเจน

ไม่ใช้คำที่เป็นคำพูดลักษณะกว้างๆ อย่างเช่นการบอกว่าเราทำแบบนี้เป็นประจำ ทำบ่อย หรือไม่เคยทำมาก่อน แต่ควรพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นอย่างชัดเจนตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงก็เพียงพอแล้ว

ระบุถึงวัน เวลา และรายละเอียดต่างๆ ให้ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่นเมื่อเราต้องการที่จะยืมเงินจากใครบางคน ก็ควรระบุวันที่จะคืนเงินอย่างชัดเจน ไม่ควรพูดกว้างๆ ก็จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับอีกฝ่ายได้

ใช้คำว่าและแทนคำว่าแต่ เพื่อเป็นการถนอมน้ำใจของผู้ฟัง โดยเฉพาะเมื่อเราได้รับอะไรบางอย่างเป็นของขวัญแต่ต้องการจะบอกว่าเราชอบอย่างอื่นมากกว่า การใช้คำว่าและก็จะไม่ทำให้ผู้ให้รู้สึกเสียน้ำใจ

ใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้อีกฝ่ายได้เสนอความคิดเห็นของพวกเขาด้วย อย่างเช่นเมื่อเราอยากนัดเจอกับใครบางคน ก็ควรถามว่าถ้ามีเวลาว่างก็อยากนัดเจอกันบ้าง ไม่ควรถามว่าจะมาเจอกันได้หรือไม่ทันที

แสดงให้เห็นว่าเราต้องการที่จะช่วยแก้ไขปัญหาด้วยเช่นกัน อย่างเช่นเมื่อมีใครทำผิด แทนที่จะโทษว่าเป็นความผิดของพวกเขา ให้สอบถามว่าเกิดอะไรขึ้นเพื่อที่เราจะได้ช่วยกันแก้ไข

ใช้คำพูดหรือประโยคที่มีความหมายเป็นบวก อย่างเช่นแทนที่จะขอโทษในเรื่องที่เราไม่ได้ทำผิดอะไร ให้เปลี่ยนเป็นการขอบคุณอย่างเช่นขอบคุณที่สละเวลาแทน

เริ่มประโยคด้วยการแสดงความขอบคุณเมื่อเราต้องการความช่วยเหลือจากใครบางคนที่อาจเป็นการรบกวนอีกฝ่าย อย่างเช่นพูดว่าจะขอบคุณมากถ้าหากว่าพวกเขาสามารถมาช่วยเราได้

ไม่ควรปฏิเสธอย่างไม่ถนอมน้ำใจ ยกตัวอย่างเช่นเมื่อมีใครบางคนเสนอความคิดเห็น แต่เราไม่เห็นด้วย ก็ไม่ควรหักหน้าพวกเขาออกไปตรงๆ แต่ใช้วิธีเสนอความคิดในแบบของเราแทน

ใช้คำว่ายังไม่สามารถทำได้ในตอนนี้แทนการปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใด ยกตัวอย่างเช่นเมื่อลูกๆ อยากเล่นด้วย แต่พ่อแม่นั้นทำงานอยู่ ก็ควรบอกให้พวกเขารอจนกว่าพ่อแม่จะทำงานเสร็จ เพื่อไม่ให้ลูกๆ รู้สึกผิดหวัง

ใช้คำว่าคุณหรือเรา การนำอีกฝ่ายหนึ่งเข้ามามีส่วนร่วมในสิ่งที่เรากำลังพูดจะทำให้พวกเขารู้สึกเห็นด้วย และเป็นการให้เกียรติอีกฝ่ายหนึ่งด้วยเช่นกัน

ที่มา: brightside