รูปแบบความสัมพันธ์ของคุณแม่กับลูกสาว ที่ส่งผลดีและร้ายต่างกันไป

0
2023

แต่ละครอบครัวมีวิธีการอบรมเลี้ยงดูลูกที่แตกต่างกันไป คุณแม่เองก็ไม่มีข้อยกเว้น โดยคุณแม่แต่ละคนนั้นก็มีวิธีการสั่งสอนเลี้ยงดูลูกไม่เหมือนกัน และแน่นอนว่าแต่ละวิธีก็ให้ผลที่แตกต่างกันด้วย ซึ่งมีทั้งข้อดีข้อเสียปะปนกันไป

ความสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่และลูกสาวนั้นมีอยู่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบ แต่ละประเภทก็ส่งผลกระทบต่อชีวิตของทั้งคู่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะชีวิตของลูกสาว ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 7 ประเภทของความสัมพันธ์ระหว่างแม่-ลูกดังต่อไปนี้

คุณแม่ที่เลี้ยงลูกแบบพี่สาว-น้องสาว มากกว่าที่จะเป็นแม่และลูก การเลี้ยงดูแบบนี้ทำให้ลูกสาวเติบโตขึ้นมาเป็นคนเก่ง มีความเป็นผู้นำ พึ่งพาตัวเองได้ และสามารถดูแลแม่ได้เป็นอย่างดี แต่ขณะเดียวกันก็อาจทำให้รู้สึกเหมือนไม่ได้รับความรักและการดูแลเอาใจใส่อย่างเต็มที่ เพราะบางครั้งคุณแม่ก็อาจละเลยการทำหน้าที่แม่ที่แท้จริงไปนั่นเอง

คุณแม่ที่เลี้ยงลูกแบบเพื่อนสนิท ทำให้แม่เป็นทุกอย่างของลูกทั้งคนที่พวกเธอไว้ใจที่สุดและสามารถปรึกษาทุกปัญหาในชีวิตได้ การเลี้ยงลูกแบบนี้ทำให้ลูกเข้มแข็ง ไม่กลัวสิ่งใด รู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และมีความมั่นใจในตัวเอง

คุณแม่ที่เลี้ยงลูกเหมือนคนแปลกหน้า ทำให้ลูกรู้สึกไม่ใกล้ชิดหรือสนิทสนมกับแม่ เมื่อมีปัญหาหรือมีเรื่องอะไรเกิดขึ้นก็มักจะบอกแม่เป็นคนสุดท้าย มีความไม่เข้าใจกันอยู่ตลอดเวลา การเลี้ยงลูกแบบนี้ทำให้ลูกเติบโตขึ้นมาเป็นคนที่ไม่มั่นใจในตัวเอง เครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล และอาจทำให้มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนอื่นในอนาคตด้วย แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้ลูกเติบโตขึ้นมาเป็นคนที่สามารถแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้ เพราะต้องใช้ชีวิตด้วยตัวเองอยู่ตลอดเวลา

คุณแม่ที่เลี้ยงลูกแบบไม่เห็นความสำคัญของอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่ว่าฝ่ายนั้นจะเป็นลูกสาวหรือตัวแม่เอง ที่สนใจแค่ภาพลักษณ์ภายนอก ไม่ได้ใส่ใจกันจริงๆ ถ้าคุณแม่คือฝ่ายที่สนใจแต่ตัวเอง ลูกจะเติบโตมาแบบขาดความรัก แต่ขณะเดียวกันก็จะเข้าอกเข้าใจผู้อื่น แต่ถ้าลูกคือฝ่ายที่สนใจแต่ตัวเองและแม่ไม่ช่วยแก้ไข ก็จะโตขึ้นเป็นคนเห็นแก่ตัว

คุณแม่ที่ไม่เคยชื่นชมหรือเห็นคุณค่าในตัวลูก แม้ว่าพวกเธอจะทำดีก็ไม่ได้รับคำเชยชม แต่กลับถูกกดดันให้พยายามมากขึ้นไปอีก ทำให้โตขึ้นมาเป็นคนไม่มั่นใจในตนเอง รู้สึกไร้ค่า และต้องการความรักหรือการยอมรับจากผู้อื่น

คุณแม่ที่คอยให้กำลังใจลูกอยู่ตลอดเวลา แต่ยึดติดกับการใช้ชีวิตหรือความสำเร็จของลูกมากเกินไปเหมือนเป็นชีวิตของคุณแม่เอง ไม่มีขอบเขตที่ชัดเจนในความสัมพันธ์ ทำให้ลูกเติบโตขึ้นมาเป็นคนที่ต้องพึ่งพาคนอื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถทำสิ่งต่างๆ หรือตัดสินใจด้วยตัวเองได้ และไม่มีเป้าหมายหรือทางเดินชีวิตเป็นของตัวเอง

คุณแม่ที่ใช้อำนาจกับลูกมากเกินไป เป็นจอมบงการที่คอยควบคุมทุกอย่างในชีวิตของลูกสาว เชื่อว่าสิ่งที่ตนเองเลือกให้คือสิ่งที่ดีที่สุด ทำให้ลูกเครียด กดดัน ไม่มั่นใจในตนเอง ไม่เคารพตัวเอง และอาจนำไปสู่โรคเครียดหรือซึมเศร้า แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้ลูกเป็นคนเก่ง มีความรับผิดชอบ และประสบความสำเร็จด้านการเรียนหรือหน้าที่การงาน

ที่มา: brightside