พฤติกรรมที่พ่อแม่มองว่าเป็นเรื่องปกติ แต่มันอาจเป็นสัญญาณขอความช่วยเหลือจากลูก

0
977

เด็กย่อมมีความดื้อและซนอยู่แล้ว การแหกกฎนั้นเป็นเรื่องปกติที่พวกเขามักจะมีความอยากรู้อยากเห็นและอยากลองทำตลอดเวลา เพราะเป็นวิธีการเรียนรู้ถึงขอบเขตของสิ่งที่สามารถทำได้หรือทำไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้นไม่เป็นปัญหา ซึ่งพฤติกรรมบางอย่างก็สามารถสะท้อนปัญหาที่ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยอย่างที่คิดเสมอไป

5 สัญญาณที่อาจบ่งบอกให้รู้ว่าเด็กๆ นั้นมีปัญหา ซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นปัญหาที่ร้ายแรงในอนาคตได้ จากพฤติกรรมที่บางครั้งพ่อแม่ผู้ปกครองก็มองว่าเป็นความดื้อตามปกติของเด็กๆ แต่มันอาจมีปัญหาที่ซับซ้อนกว่าซ่อนอยู่เบื้องหลัง

พฤติกรรมการเลือกกินเป็นปัญหาปกติที่พ่อแม่เกือบทุกคนต้องเคยเจอ แต่นักจิตวิทยาเผยว่าเด็กที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะเลือกกินมากกว่าปกติ ดังนั้นมันอาจไม่ใช่ความเอาแต่ใจธรรมดาแต่เป็นการส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือก็ได้

เด็กส่วนใหญ่นั้นไม่คิดมากเรื่องการสวมใส่เสื้อผ้าเท่าไหร่นัก แต่ก็อาจจะมีเด็กๆ บางคนที่ใส่ใจและอยากเลือกเสื้อผ้าด้วยตนเอง ซึ่งก็อาจจะเป็นได้ทั้งพฤติกรรมปกติ หรืออาจจะเป็นสัญญาณของโรควิตกกังวลในเด็กก็ได้เช่นกัน

ถึงแม้ว่าเด็กในยุคปัจจุบันจะชอบอุปกรณ์ไอทีมาก และหมกมุ่นกับมันเกือบทุกครั้งที่มีเวลาว่าง แต่ถ้าหากว่าพวกเขาติดมือถือหรือแท็บเล็ตแม้แต่ตอนที่มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่ตรงหน้าก็อาจจะเป็นสัญญาณของโรควิตกกังวลหรือความเครียด

พ่อแม่ส่วนใหญ่ล้วนเคยผ่านช่วงเวลาที่ลูกนั้นงอแงอยากได้ของเล่นมาแล้ว และคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ แต่นักจิตวิทยาเผยว่ามันอาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด เพราะปกติแล้วเด็กที่ยังไม่เข้าสู่วัยรุ่นจะไม่คิดมากเรื่องของที่พวกเขามีหรือไม่มี ดังนั้นมันอาจเกิดขึ้นเพราะพวกเขาขาดความรักและความเอาใจใส่จึงต้องการสิ่งที่จะมาเติมเต็ม

เด็กย่อมมีความอยากรู้อยากเห็นและอยากลองสิ่งใหม่ๆ อยู่แล้ว แต่ถ้าหากว่าจู่ๆ พวกเขาก็ขี้สงสัยมากผิดปกติ และเริ่มซักถามตลอดเวลาหรือหาข้อมูลด้วยตนเอง ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งสัญญาณของความวิตกกังวลได้เช่นกัน

ในทางกลับกันพฤติกรรมบางอย่างที่ทำให้พ่อแม่กังวลนั้นอาจจะเป็นเรื่องปกติมากๆ สำหรับเด็กในแต่ละช่วงวัย อย่างเช่นการกรีดร้องโวยวายที่เกิดขึ้นได้กับเด็กที่อยู่ในช่วงวัยที่ยังสื่อสารได้ไม่ดีเท่าไหร่นัก หรือพฤติกรรมไม่ดีที่พวกเขาแสดงต่อหน้าคนอื่น ที่เป็นเรื่องปกติมากเพราะเด็กๆ นั้นอยู่ในวัยที่ยังไม่ได้เรียนรู้เรื่องการเข้าสังคมนั่นเอง

ที่มา: brightside