นักวิทยาศาสตร์รีบกลับบ้านเกิด เพื่อคิดค้นเทคโนโลยีแก้ปัญหาทะเลสาบ

0
1643

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นบนโลกนั้นรุนแรงและหนักหน่วงขึ้นทุกวัน ซึ่งมันเป็นปัญหาที่มนุษย์ทุกคนต้องร่วมมือกัน ไม่อย่างนั้นก็คงไม่อาจเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ได้ โดยอาจเริ่มจากตัวของเราเองอย่างเช่นนักวิทยาศาสตร์หนุ่มคนนี้

พบกับเรื่องราวที่น่ายกย่องของนักวิทยาศาสตร์สัญชาติเปรูชื่อว่า Marino Morikawa ที่ได้เดินทางกลับมาจากประเทศญี่ปุ่นเมื่อได้ยินข่าวว่าทะเลสาบในเมืองที่เขาเติบโตมานั้นกำลังประสบปัญหามลพิษอย่างหนักหนาสาหัส

เมื่อนักวิทยาศาสตร์หนุ่ม Marino Morikawa ได้ยินว่าทะเลสาบ Cascajo Wetlands (El Cascajo) ในอุทยานแห่งชาติในประเทศเปรูนั้นกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤติ เนื่องจากน้ำกำลังเน่าเสียขึ้นทุกวัน เขาก็ได้เดินทางกลับจากการไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อมาแก้ไขปัญหานี้ด้วยตัวเอง

เขาได้ใช้เงินตัวเองทุกบาททุกสตางค์ไม่ว่าจะเป็นเงินเก็บของตัวเองหรือเงินที่ไปกู้ยืมมา ทำการทดลองจนกระทั่งได้คิดค้นวิธีการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีไมโคร/นาโนบับเบิลเพื่อมาบำบัดน้ำเสียใน Cascajo Wetlands

เทคโนโลยีไมโครนาโนบับเบิลที่เขาคิดค้นขึ้นมานั้นมีสนามแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งขั้วบวกและขั้วลบ ที่ทำงานเหมือนกับแม่เหล็กที่จะคอยดูดสิ่งต่างๆ ซึ่งสิ่งที่จะถูกดูดให้มาเกาะกลุ่มกันก็คือไวรัสและเชื้อแบคทีเรียที่เป็นมลพิษต่อแหล่งน้ำ

เชื้อไวรัสและแบคทีเรียเหล่านั้นจะถูกดูดให้เชื่อมต่อกันเหมือนใยแมงมุมเพื่อให้สามารถกัดจัดได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ดูดเอาจุลชีพหรือจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อแหล่งน้ำขึ้นมาด้วย ทำให้ทะเลสาบกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ทันที เขาใช้เวลากว่า 6 เดือนในการคิดค้นเทคโนโลยีนี้ขึ้นมา และใช้เวลาอีก 4 เดือนในการฟื้นฟูทะเลสาบ

Marino Morikawa ยอมรับว่าวิธีการของเขานั้นต้องใช้งบประมาณสูงมาก แต่มันเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด เพราะนอกจากจะได้ผลดีที่สุดแล้วยังเป็นออร์แกนิค 100% ทำให้ไม่ส่งผลเสียต่อพืชและสัตว์เลยแม้แต่นิดเดียว

หลังจากทำการบำบัดน้ำเสียในทะเลสาบ Cascajo Wetlands จนเสร็จสิ้น เขาและทีมของเขาก็จะมุ่งหน้าไปแก้ไขปัญหามลพิษในแหล่งน้ำอื่นๆ ต่อไป เพื่อช่วยฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับมาสมบูรณ์ดังเดิมอีกครั้ง

ที่มา: brightside