7 เรื่องราวความเข้าใจผิด ที่ถูกนำเสนอเกี่ยวกับชีวิตของชาวอียิปต์โบราณในหนังดัง

0
1528

บางครั้งเรื่องราวในภาพยนตร์ก็ได้สร้างมาจากเรื่องจริง แต่ก็ไม่ได้แปลว่าทุกรายละเอียดในภาพยนตร์จะเป็นความจริงทั้งหมด เพราะยังมีเรื่องราวบางอย่างในประวัติศาสตร์ ที่แตกต่างจากภาพที่เราคุ้นเคยในภาพยนตร์มากเลยทีเดียว

7 เรื่องราวความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอียิปต์โบราณ ที่ในชีวิตจริงนั้นแตกต่างจากสิ่งที่เราเคยเห็นในภาพยนตร์มาก ถึงแม้ว่าจะมีการอ้างอิงมาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ แต่ก็ยังมีบางสิ่งที่แตกต่างกันระหว่างภาพยนตร์กับชีวิตจริง

คลีโอพัตราเป็นราชินีแห่งอียิปต์โบราณที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด เพราะขึ้นชื่อเรื่องความสวย แต่ในชีวิตจริงรูปโฉมของคลีโอพัตราอาจจะไม่เหมือนกับที่เราเห็นในภาพยนตร์ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าคลีโอพัตราตัวจริงนั้นตัวเล็ก มีรูปร่างเหมือนผู้ชาย และจมูกงุ้ม แต่สิ่งที่ทำให้ทุกคนชื่นชมคือเสน่ห์ ความเฉลียวฉลาด และความสามารถในการสื่อสาร

ผู้กำกับและทีมผู้สร้างภาพยนตร์มักจะสร้างกับดักเอาไว้มากมายในพีระมิดอียิปต์โบราณ เพื่อให้ตัวละครของพวกเขาฟันฝ่าอุปสรรคเหล่านั้นไปจนถึงสมบัติล้ำค่า แต่พีระมิดอียิปต์ของจริงไม่ได้มีกับดักที่ซับซ้อนเหนือจินตนาการถึงเพียงนั้น บางครั้งก็มีแค่การสร้างห้องที่คล้ายกับห้องเก็บสมบัติเพื่อหลอกตา หรือสร้างหลุมลึกเอาไว้ดักจับหัวขโมย

มหาสฟิงซ์หรือรูปสฟิงซ์แกะสลักด้วยหินขนาดใหญ่ที่สุดในอียิปต์นั้นมีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้พีระมิด แต่หลายคนอาจจะเคยสงสัยว่าทำไมรูปปั้นนี้ถึงไม่มีจมูก และบางคนก็คิดว่าเกิดจากกองทัพของนโปเลียนที่มาซ้อมยิงปืนโดยใช้จมูกของรูปปั้นเป็นเป้า แต่ความจริงรูปสฟิงซ์ไม่มีจมูกที่เก่าแก่ที่สุดนั้นมีมาตั้งแต่ปี 1755 ส่วนนโปเลียนเกิดในปี 1769

หลายคนเชื่อว่าสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่อลังการอย่างพีระมิดนั้นถูกสร้างโดยทาส เพื่อเสริมสร้างอำนาจให้กับเหล่าฟาโรห์ทั้งหลาย แต่ความจริงแล้วมีการพบสุสานของชาวอียิปต์ใกล้กับพีระมิด ซึ่งเป็นสุสานของเหล่าคนงานที่ถูกฝังอย่างมีเกียรติ และนักประวัติศาสตร์ยังเชื่อว่าเหล่าคนงานที่ก่อสร้างพีระมิดนั้นได้รับค่าจ้างและสวัสดิการที่ดีมากในยุคนั้น

จากภาพยนตร์หลายเรื่อง เราพบว่าไฮเออโรกลีฟอียิปต์ (Egyptian hieroglyphs) เป็นระบบการเขียนที่ชาวอียิปต์โบราณใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งก็เป็นความจริง แต่ชาวอียิปต์มักใช้ระบบไฮเออโรกลีฟเขียนวรรณกรรมทางศาสนาลงบนแผ่นไม้และแผ่นพาไพรัส ส่วนการเขียนเพื่อจุดประสงค์อื่นมักจะใช้การเขียนแบบดีโมติกอียิปต์

คำสาปของฟาโรห์เป็นเรื่องราวที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในภาพยนตร์ เมื่อเหล่านักขุดค้นที่เปิดสุสานของฟาโรห์นั้นเสียชีวิตอย่างปริศนา จนหลายคนเชื่อว่าน่าจะโดนคำสาป แต่ความจริงแล้วการเสียชีวิตของเหล่านักขุดค้นที่เกิดขึ้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับคำสาปหรือตำนานเลย เพราะล้วนแต่อธิบายได้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์

ฟาโรห์และนักบวชชาวอียิปต์ในชีวิตจริงก็แตกต่างจากสิ่งที่ถูกนำเสนอในภาพยนตร์ ถึงแม้จะเป็นกษัตริย์แต่การใช้ชีวิตท่ามกลางดินแดนที่เต็มไปด้วยทะเลทรายก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะรอบตัวมีแต่ทราย ปรสิต และโรคภัยไข้เจ็บ นอกจากนี้ฟาโรห์และนักบวชก็มักจะเป็นโรคอ้วน เพราะไม่ได้ทำงานหนักและรับประทานแต่อาหารที่อุดมไปด้วยแป้งและไขมัน

ที่มา: brightside